Saturday, 27 April 2024
GUIDE TO LEARNING

ได้เวลาโกอินเตอร์ “อังกฤษ”แจกฟรีทุนเรียนป.โท

ถึงเวลาได้โกอินเตอร์! “อังกฤษ”แจกฟรีทุนเรียนป.โท พร้อมค่าเทอม/ค่าที่พัก/ค่าตั๋วเครื่องบิน/เบี้ยเลี้ยง ฟรี
.
รัฐบาลอังกฤษประกาศเปิดรับสมัครนักศึกษาเข้ารับทุนชีฟนิ่ง (Chevening) ประจำปี 2023-2024 ซึ่งเป็นทุนให้เปล่าที่จะช่วยให้ผู้นำที่โดดเด่นจากทั่วทุกมุมโลกสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโทเป็นระยะเวลา 1 ปีในอังกฤษ โดยเปิดให้เลือกเรียนสาขาใดก็ได้ มหาลัยใดก็ได้ 
.
สิ่งที่จะได้รับ 
✔️ ฟรี! ค่าตั๋วเครื่องบิน
✔️ ฟรี! ที่พัก
✔️ ฟรี! ค่าเบี้ยเลี้ยงรายเดือน
✔️ ฟรี! ค่าเล่าเรียน
✔️ ค่าใช้จ่ายชีวิตประจำวัน 
✔️ ค่าเดินทางในประเทศ 
✔️ ค่าตั้งรกราก 

 

Charisma 13 กุญแจ สู่ความสามารถไร้ขีดจำกัด

อะไรคือสิ่งที่ทำให้คนๆนึงเป็นคนที่มีความสามารถไร้ขีดจำกัดและเรารู้สึกอยากจะมีความสามารถแบบนั้นได้บ้างหรืออยากมีคาริสม่าเปล่งประกายแบบนั้นได้บ้าง
.
Charisma (อ่านว่า คะ ริส หม่า) แปลว่า เสน่ห์
.
คำนี้เป็นคำนาม เป็นคำที่ใช้แทนการมีเสน่ห์แบบที่ค่อนข้างจะลึกซึ้งกว่าแบบอื่น เพราะจะเป็นเสน่ห์ในแง่ การที่สามารถดึงดูดใจ หรือชักจูงใจให้คนอื่น นำไปเป็นแบบอย่างได้ เช่นพวก ซุปเปอร์สตาร์ดังๆ นักพูดดังๆ นักการเมือง ผู้ซึ่งมีเสน่ห์ ดึงดูดใจทุกครั้งที่กล่าวสุนทรพจน์ หรือ แสดงออกต่อหน้าสาธารณชน ไม่ใช่เพราะเขาพูดเก่ง หรือไม่ใช่เพราะเขาหน้าตาหล่อ หรือหุ่นดี แต่เป็นเสน่ห์รวมๆ ที่อยู่ในบุคลิกภาพของเขา ทำให้เขาสามารถสื่อสาร และก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย คำๆ นี้มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ว่า Kharisma ซึ่งแปลว่า ของประทานจากพระเจ้า ดังนั้นเสน่ห์แบบนี้บางคราวจึงเกิดขึ้นมาแบบเหนือธรรมชาติ หรือเกินกว่าที่จะอธิบายถึงที่มาที่ไป ดังนั้น charisma นี้ จึงมีความหมายว่า พรสรรค์ ด้วย มาดูกันว่า 13 กุญแจสำคัญของการเป็นคนที่มีคาริสม่ามีอะไรบ้าง
.
1. ความเชื่อ (Belief) : ความเชื่อในสิ่งที่ทำ ความเชื่อมั่นในตัวเองในทางที่ดี และมักจะมองเห็นคุณค่าในตัวผู้อื่น หรือเชื่อมั่นในตัวผู้อื่นเช่นกัน
.
2. มีความหลงใหล ( Passion ): หลงใหลในสิ่งที่ทำ บางครั้งก็หลงใหลในขั้นสุดโต่ง จนคนส่วนใหญ่มักจะมองว่า “บ้า” แต่บ้าแบบมีเป้าหมายมีทิศทางหนักแน่นชัดเจน

3. มีความริเริ่ม (Initiative) : ริเริ่ม และลงมือทำอย่างรวดเร็ว ในเมื่อคนแบบนี้มีความคิดใหม่ๆขึ้นมาแล้ว เค้าจะไม่รอให้ใครลงมือทำก่อนเค้าแน่นอน และไม่ลังเลที่จะทำสิ่งที่เค้าคิดให้เกิดขึ้น
.
4. จดจ่อ (Focus) : หากคำว่า โฟกัสหรือการจดจ่อของคุณ มีเพียงคำว่า “โฟกัส” คำเดียว สำหรับคนเหล่านี้จะมีคำว่า โฟกัส โฟกัส โฟกัส โฟกัส โฟกัส นับร้อยครั้งในหัวของเค้า เห็นได้ชัดว่า เค้าจะจดจ่อและโฟกัสกับสิ่งที่เค้าตั้งใจทำแค่ไหน
.
5. เตรียมตัวอย่างดี (Preparation) : คนเหล่านี้จะเตรียมพร้อมเสมอและมีการเตรียมตัวเตรียมการไว้ดีเสมอ
.
6. ซักซ้อม (Practice) : ซักซ้อมเสมอในสิ่งที่เค้ารักที่เค้าสนใจในสิ่งที่เค้าทำ ดังคำกล่าวของ บรูซลี (Bruce Lee) ว่า " ผมไม่กลัวคนที่ฝึกเตะเป็นหมื่นท่าแค่ครั้งเดียวหรอก แต่ผมกลัวคนที่ฝึกเตะท่าเดียวเป็นหมื่นครั้งต่างหาก"
.
7. มีความเพียร (Perseverance) : ความเพียรเป็นสิ่งที่คนเหล่านั้นเห็นเพียงคนเดียวและอยู่กับมันในทุกๆวัน ทุกเวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน 365 วันต่อปี แต่มักจะเป็นสิ่งที่คนภายนอกมองว่า คนเหล่านั้นโชคดีจัง ในเวลาที่คนเหล่านั้นประสบความสำเร็จ
.
8. ความกล้าหาญ ( Courage ) : ความกลัวเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง..แต่ความกล้าหาญคือ"การตัดสินใจ"ที่จะไม่ตอบสนองต่อความกลัว ทำให้กลายเป็นบุคลิกหลักๆ ที่เราจะเห็นได้จากคนที่มีคาริสม่าเลยก็ว่าได้
.
9. การเป็นคนที่รับคำสั่งสอนได้ (Teachability) : อีกในนึงคือมีความนอบน้อม รับฟังผู้อื่นติชมได้ แล้วยังรักการเรียนรู้จากคนรอบข้างเสมอ
.
10: จิตใจดีมีน้ำใจ (Kindness) : มีน้ำจิตน้ำใจที่ดี อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เพราะบางคนก็เป็น Artist อาจจะเข้ากับคนอื่นได้ลำบากด้วยซ้ำ แต่คนเหล่านี้ลึกๆ แล้วจะความเมตตาและมีจิตใจที่ดีจนคนรอบข้างสัมผัสได้11. มีความรับผิดชอบสูง (Responsibility) : รับผิดชอบในวินัยของตนเองรวมถึงรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำผิด คุณจะไม่มีทางเห็นคนเหล่านี้พยายามโยนความผิดที่เกิดขึ้นให้กับคนอื่นแน่ๆหากเค้าเป็นคนทำเองเค้าจะ รับผิดชอบในสิ่งที่กระทำด้วยความกล้าหาญ
.
12. รักตัวตนของตัวเอง (Self-Love) มีความรักในตัวเองและเห็นคุณค่าของตัวเอง คนเหล่านี้จะตกหลุมรักตัวเองในทุกๆวันและมีความสุขจนคนรอบข้างอยากรักเค้าตามไปด้วยเลย
.
13. มีความรู้คุณคน (Gratitude) : ซาบซึ้งในบุญคุณของคนที่ช่วยเหลือเขา และขอบคุณพร้อมทั้งตอบแทนช่วยเหลือกลับเท่าที่เขาจะทำได้ และไม่มีวันลืมคนที่มีพระคุณกับเขาทุกคน

ทักษะแห่งอนาคตโลก 4.0 วัยเรียน-วัยแรงงาน -ผู้สูงวัย ต้องมี

ปัจจุบันมีจำนวนประชากร 5 คน ทำงานเลี้ยงผู้สูงอายุ 1 คน คาดว่าปี 2583 ประเทศไทยจะเหลือประชากรไม่ถึง 2 คน ทำงานดูแลผู้สูงอายุ 1 คน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็น ควบคู่การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปรับตัวเข้ากับโลกแห่งความทันสมัย
.
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของโลกศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป  และการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น การเตรียมพร้อมคุณภาพของคนให้มีทักษะแห่งอนาคตที่จำเป็น โดยจากการศึกษาจำแนก การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการพัฒนาคนไทยออกเป็น 5 สถานการณ์ ได้แก่
.
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน
2. ช่องว่างระหว่างวัยที่กว้างขึ้น เพราะประสบการณ์บริบทชีวิต และความคิดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
3. การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมเป็นวงกว้าง
4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาชีพและรูปแบบการทำงาน มีทั้งอาชีพเกิดใหม่และหายไป
5. กระบวนการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายขึ้น เน้นการเรียนเชิงรุกและบูรณาการข้ามสาขา
.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้นำเสนอทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต เพื่อเตรียมการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกศตวรรษที่ 21 เริ่มด้วย
.
ช่วงปฐมวัย (0-5 ปี) การพัฒนาช่วงวัยนี้ควรเปิดโอกาสให้เด็กๆได้สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างปลอดภัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีมุมมองต่อโลกอย่างกว้างขวาง มีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทุกด้านพร้อมกัน ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ควบคู่กับการพัฒนาผู้ปกครอง ผู้ดูแลและครูให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะ มี 5 อันดับทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคตดังนี้
1.การคิดเชิงสร้างสรรค์
2.ความอยากรู้อยากเห็น
3.ความสามารถทางกายภาพ การแก้ปัญหา และการสื่อสาร
4.การอ่านออกเขียนได้
5.ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล การเข้าใจผู้อื่น
.
ช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น (5-21ปี) การพัฒนาช่วงวัยนี้ควรให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นหลากหลาย ครอบคลุมการพัฒนาทั้งกาย ใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตลอดจนทักษะพื้นฐานและทักษะที่เชื่อมสู่โลกการทำงาน ไม่จำกัดการเรียนรู้อยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ส่งเสริมการค้นหาตัวตนและความถนัดของเด็ก และมีช่องทางการเรียนรู้ที่ตอบสนองได้ทั้งในและนอกระบบโดยมี 5 อันดับทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต
1.ความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
2.การอ่านออกเขียนได้
3.การเป็นผู้เรียนเชิงรุก
4.การเป็นพลเมืองที่ดี
5.ความอยากรู้อยากเห็น การคิดเชิงสร้างสรรค์
.
ช่วงวัยแรงงาน(15-59 ปี )การพัฒนาในช่วงวัยนี้ควรเสริมสร้างความต้องการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยโอกาสในการพัฒนาตนเองดังกล่าว ควรควบคู่กันทั้งการเรียนรู้อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มี 5 อันดับทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคตดังนี้ 
1.ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล การแก้ปัญหา
2.ความรู้ทางธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
3.การคิดเชิงสร้างสรรค์
4.การทำงานร่วมกับผู้อื่น
5.การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่หลากหลาย
.
ช่วงวัยผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ซึ่งการพัฒนาในช่วงวัยนี้ควรมีรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย โดยเฉพาะ สนับสนุนการนำความรู้และประสบการณ์ของผู้สูงวัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ชุมชน และตัวผู้สูงวัยเอง เพื่อเสริมสร้างคุณค่าและต่อยอดบทบาทในสังคมของผู้สูงอายุ และรับมือกับการเข้าสู้สังคมผู้สูงวัยอย่างยั่งยืนโดย 5 อันดับทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต  
1.การปรับตัว
2.การมองโลกในแง่ดี
3.ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล
4.ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ การเข้าใจผู้อื่น
5.การแก้ปัญหา
.
แล้วแนวทางการส่งเสริมในแต่ละช่วงวัย ควรปฎิบัติอย่างไร ? เราแบ่งได้ดังนี้ 
1. นโยบายการศึกษา
•    ช่วงปฐมวัย : มีนโยบายและงบประมาณทางการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กช่วงปฐมวัยโดยเฉพาะ ครอบคลุมการเตรียมความพร้อมทั้งเด็กและผู้ดูแล
•    ช่วงวัยเรียน : ปฎิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้ทันสมัย สอดคล้องความต้องการและจำเป็น ควบคู่กับการยกระดับวิชาชีพและการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ
•    ช่วงวัยทำงาน : ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีเงินทุนแรงงานเพื่อการพัฒนาตนเอง สนับสนุนการเรียนรู้ในที่ทำงาน โดยมีหลักสูตรเฉพาะสำหรับผู้ใหญ่ และสายอาชีพที่ต่างกัน
•    ช่วงผู้สูงอายุ : จะมีนโยบายพัฒนาทักษะ ส่งเสริมการจ้างงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุยังมีบทบาทและสามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ
.
2. กระบวนการเรียนรู้
•    ช่วงปฐมวัย : ใช้กิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ลักษณะการเรียนรู้ และความสนใจของแต่ละคน เน้นการเรียนแบบแบ่งปันความคิดร่วมกันและการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เป็นทางการ
•    ช่วงวัยเรียน : เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับการทำงาน เสริมสร้างสมรรถนะจากประสบการณ์จริง และมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษา
•    ช่วงวัยทำงาน : เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  นำความเชี่ยวชาญของผู้เรียนมาเป็นฐาน สามารถวางแผนการเรียนรู้ตามจังหวะของตนเอง มีการอบรมที่มีคุณภาพ และเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในการทำงาน
•    ช่วงผู้สูงอายุ : ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะกับช่วงวัย เน้นฝึกการอบรมเชิงประสบการณ์ การอภิปราย การบูรณาการ การเรียนรู้แบบร่วมมือ และมุ่งต่อยอดทักษะ ความรู้เดิม
.
3. สภาพแวดล้อม
•    ช่วงปฐมวัย : สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์สร้างพัฒนาการทางสมอง และให้อิสระแก่เด็ก
•    ช่วงวัยเรียน : ออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ที่เชื่อมโยง เป็นสัดส่วน สามารถรองรับกิจกรรมการเรียนและการทำงานที่แตกต่างกันได้  ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติจริง เกิดปฎิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนระหว่างกัน
•    ช่วงวัยทำงาน : ส่งเสริมการเรียน การมีส่วนร่วม และการเติบโตร่วมกันภายในองค์กร มีเส้นทางความก้าวหน้าของอาชีพที่ชัดเจน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จ
•    ช่วงผู้สูงอายุ : พัฒนาสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ ผู้สูงอายุต้องการสภาพแวดล้อมเชิงสนับสนุนที่เห็นอกเห็นใจ ไม่เป็นทางการผ่อนคลาย และเป็นมิตรต่อการเรียนรู้
.
4. เทคโนโลยี
•    ช่วงปฐมวัย : จัดสรรสื่อและเทคโนโลยีทั้งสื่อดั่งเดิมและสื่อดิจิทัล ช่วยส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
•    ช่วงวัยเรียน : นำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยจัดการเรียนการสอน เช่น แพลตฟอร์มเพื่อเข้าถึงเนื้อหา และนวัตกรรมวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนและออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองผู้เรียนแต่ละคน
•    ช่วงวัยทำงาน :ใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นสื่อและช่องทางในการเรียนรู้ และใช้สนับสนุนการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อวางแผนการเติบโตในอาชีพ และประยุกต์ใช้ทักษะและความรู้ในการทำงาน


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STUDY TIMES
Take Me Top